why we work here
สภาพปัญหา
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นเมื่อเมืองขยายตัวคือ ปัญหาน้ําเน่าเสีย และปัญหาขยะ จากการที่ ผังเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการถม คูคลองอันเป็นทางระบายน้ํา การปิดกั้นทางน้ําเดิม รุกล้ำลําเหมือง สาธารณะ และตื้นเขินไม่มีการขุดลอก ทางเดินน้ําถูกเปลี่ยนทิศทาง เดินและมีขนาดเล็กไม่สามารถระบายน้ําได้ทัน ท่อระบายน้ําถูกอุดตันจากเศษดิน เศษขยะจากบ้านเรือนและผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าต่างๆ ซึ่งปัญหา ลําน้ําปิงและ ลําเหมืองภายในชุมชนตื้นเขินและลําเหมืองแคบลงนั้นเกิดจากสาเหตุหลัก คือ ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ร้านค้า โรงแรม รุกล้ําลําน้ํา ทําให้น้ําไม่สามารถไหลผ่าน ได้สะดวก ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่อง น้ําเน่าเสียโดยเฉพาะในเขตเมืองเชียงใหม่ มักจะส่งกลิ่นเหม็น อีกทั้งยังส่งผลให้น้ําใต้ดินซึ่งเป็นน้ําบ่อน้ําบาดาล มีกลิ่นเหม็น สกปรกไม่สามารถนํามาดื่มได้
ในปัจจุบันมีการพูดถึงปัญหานี้บ้าง แต่การจัดการมักจะขึ้นอยู่กับความสนใจของ ผู้บริหารและ กระแสสังคมเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการพูดถึงบ้าง แต่มุมของการจัดการมักอยู่ ในมุมของการแก้ไขปัญหา และคิดถึงการแก้ไขที่ใช้งบค่อนข้างสูง ไม่คิดถึงการจัดการในระยะยาว เช่น ปลูกฝัง จิตสํานึกให้คนโดยรอบเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา หรือแม้กระทั่งพูดถึงปัญหา ที่เชื่อมโยงกับปัญหาเมือง ทั้งระบบซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามของชุมชนที่อยู่ใน แนวคลองแม่ข่าพยายามที่จะเข้ามามีส่วนร่วมฟื้นฟูคลอง แม่ข่า ด้วยการเข้ามาช่วย กันขุดลอกคลองแม่ข่าในส่วนที่ผ่านชุมชน การปลูกต้นไม้ริมตลิ่งป้องกันการรุกล้ําลํา น้ําสาธารณะ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะต้องทําทุกภาคส่วน และขยายไปยังจุดต่างๆ ทั่วเชียงใหม่ จึงจะสามารถ แก้ปัญหาน้ําเน่าเสียอย่างเป็นระบบได้
นอกจากปัญหาน้ําเน่าเสียแล้ว ปัญหาสําคัญอีกอันหนึ่งในเขตเมืองคือปัญหากา รจัดการขยะจาก การสํารวจข้อมูลของส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณขยะ สะสม 42,979.0 ตัน/ปี ในจํานวนนี้ข้อมูลจาก สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาค 1 ระบุว่ามีปริมาณขยะที่ได้รับการ กําจัด 320,194.2 ตันต่อปี และมีปริมาณขยะที่นําไปใช้ประโยชน์จํานวน 191,911.3 ตันต่อปี ในแต่ละวัน มีปริมาณขย ะเกิดขึ้น 1,658.89 ตัน/วัน หรือ 605,351.16 ตัน/ปี ในส่วนนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้อ งถิ่นที่ ให้บริการจัดเก็บ 149 แห่ง วันละ 1,330.98 ตัน/วัน พบว่ายังมีการกําจัดไม่ ถูกต้อง โดยวิธีเทกองเผา กลางแจ้ง และเตาเผาไม่มีระบบบําบัด 67,192.77 ตัน/ปี คิดเป็นร้อยละ 14 ของประมาณขยะที่จัดเก็บ ส่วนหนึ่งได้จ้างเอกชนดําเนินการร้อยละ 52 และนํากลับไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 34 นอกจากนี้ ยังมีมีองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ไม่มีการให้บริการจัดเก็บ 61 แห่ง ปริมาณขยะ 327.61 ตัน/วัน หรือ 119,577.63 ตัน/ปี ซึ่งมีปริมาณขณะที่รอการกําจัด ซึ่งอาจใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องถึงร้อยละ 78
เมืองเชียงใหม่นอกจากจะมีขยะมาจากบ้านเรือน ร้านค้า ธุรกิจโรงแรมแล้วยังมาจากกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจํานวนมากด้วย ซึ่งการจัดการอย่างเป็นระบบตั้งแต่จุดทิ้งขยะ การจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการจัดการของเทศบาลนั้นปัจจุบันยังไม ่เป็นระบบนัก เพราะยังไม่มีการคัดแยกขยะ จุดทิ้งขยะ ทําให้ปัญหาขยะกระจายตัวไ ปทั่วเชียงใหม่ ที่ผ่านมาก็มีความพยายามของชุมชนบางชุมชนที่รุกขึ้นมาจัดการขยะ เช่น ชุมชนผ้าขาว ชุมชนวัดพวกแต้ม ตําบลพระสิงห์ อําเภอเมืองเชียงใหม่ ที่พยายามจะจัดระบบในระดับ ชุมชน ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะต้องมีการขยายตัว ในเรื่องการจัดการต่อไป และสร้างการมีส่วนร่วมกับหลาย ภาคส่วนในการจัดการขยะดัวย
สื่อ ประชาธรรม
ประชาทำ
เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องถิ่นเอง
Our objectives
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องุถ
project progress
ความคืบหน้าของประเด็นนี้
ประสานงานเครือข่ายและชุมชน (สิงหาคม/2565) > จัดเวทีเครือข่าย > ฝึกอบรมสื่อสร้างนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมเชิงรุกระดับชุมชน > เก็บข้อมูลเพื่อสื่อสารสาธารณะ > ผลิตสื่อวิดีโอ > การเปิดคอลัมน์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” หรือ “envilocaleyes” ใน www.prachatham.com > ฝึกอบรมการสืบค้นข้อมูล การทำอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารรณรงค์ > การจัดประกวดสื่อรณรงค์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” > เวทีรวมของเครือข่ายเพื่อเรียนรู้ข้ามประเด็นและสรุปบทเรียน (พ.ค./2566) > จัดเวทีสาธารณะระดับจังหวัด (พ.ค./2566)