who we are
เราคือใคร
มูลนิธิสื่อประชาธรรมจดทะเบียนเมื่อปี 2558 เดิมคือ “สำนักข่าวประชาธรรม” อันเป็นองค์กร
สื่อทางเลือกที่ก่อตั้งเมื่อปี 2542 โดยกลุ่มนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนในเขตภาคเหนือ ซึ่งต่อมาได้มีการขยายการระดมหุ้นจากสมาชิกเครือข่ายประชาชนทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นองค์กรสื่อที่ภาคประชาชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการสื่อสารและผลิตข่าวสารในประเด็นต่าง ๆ เนื่องจากข้อจำกัดของสื่อมวลชนกระแสหลัก (mainstream media) ที่ไม่สามารถเข้ามาติดตามปัญหาในระดับท้องถิ่นได้ เพราะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่สามารถส่งผู้สื่อข่าวมาติดตามข่าว ประกอบกับแนวคิดของบรรณาธิการบางส่วนที่สนใจแต่ประเด็นระดับชาติและยังขึ้นอยู่กับสปอนเซอร์ที่สนับสนุนสื่อมวลชน ขณะที่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับสาธารณะรวมถึงประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่ล้วนเป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น
ในการดำเนินงานของสำนักข่าวประชาธรรมในปี 2542 -2557 ได้มีการดำเนินงาน 3 ด้านคือ
1. ผลิตข่าวสารข้อมูลข่าวสารเพื่อขยายพื้นที่ภาคประชาชนในสื่อกระแสหลักอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันในรูปแบบของ ข่าว บทความ รายงานพิเศษ ส่งให้แก่สื่อมวลชนกระแสหลัก
2. ผลิตสื่อเพื่อหนุนเสริมขบวนภาคประชาชน เช่น เว็บไซต์ www.prachatham.com หนังสือ เช่น คู่มือการทำข่าว ประสบการณ์การทำข่าวของนักข่าวมืออาชีพ
3. สร้างอาสาสมัครผู้สื่อข่าว ในระดับท้องถิ่นตามจุดต่าง ๆ โดยการฝึกอบรมเช่นการสื่อข่าว เขียนข่าว การทำข่าวสืบสวนสอบสวนและการทำข่าวสิ่งแวดล้อม โดยประสานงานกับสมาคมนักข่าวและชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยในเรื่องกระบวนการดังกล่าว ภายหลังจากฝึกอบรมก็มีกระบวนการติดตามต่อโดยให้ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวประชาธรรมเป็นพี่เลี้ยงเพื่อช่วยในการทำข่าวจากพื้นที่
ช่วงปีแรก ๆ เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นองค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน ระหว่างปี 2547-2549 เริ่มมีการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังนักศึกษาในสถาบันราชภัฎ วิทยุชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินงานของสำนักข่าวประชาธรรมจะมีการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรชาวบ้านที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ เครือข่ายป่าชุมชน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กลุ่มรักษ์เชียงของ กลุ่มฮักเมืองน่าน ฯลฯ เพื่อที่จะนำข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ดังกล่าวออกมาเผยแพร่ ขณะเดียวกันก็มีการเสริมศักยภาพบุคลากรในพื้นที่ดังกล่าวให้สามารถเป็นผู้สื่อสารเองได้ด้วย และเชื่อมต่อกับวิทยุชุมชนเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่
ต่อมาในปี 2547 จากการสรุปบทเรียนการดำเนินงานของสำนักข่าวประชาธรรม พบว่าการดำเนินงานเพื่อสื่อสารแนวดิ่งเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เพราะการสื่อสารแนวดิ่งหรือการช่วงชิงพื้นที่สื่อกระแสหลักเพื่อผลักดันประเด็นของภาคประชาชนไปสู่นโยบายสาธารณะนั้นยังประสบปัญหา เนื่องจากสื่อสารมวลชนเองก็มีการเปลี่ยนแปลง มีการควบรวมกิจการและผูกขาดมากขึ้น ถูกครอบงำจากภาคทุนและรัฐบาลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างหนัก ดังนั้นจึงมีการขยาย โครงการสื่อสารแนวราบ (local talk) ขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่การสื่อสารของภาคประชาชนในแนวระนาบมากขึ้น
การทำงานของโครงการสื่อสารแนวราบมีภารกิจอยู่ 3 ด้าน คือ
1. การพัฒนาสื่อทางเลือกเพื่อขยายการสื่อสารในแนวราบที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น เช่น พัฒนาสถานีข่าววิทยุชุมชน การพัฒนาเว็บไซต์สื่อทางเลือก เช่น ผลิตจดหมายข่าว “ท้องถิ่นสนทนา” และทำรายการวิทยุ “ท้องถิ่นสนทนา”
2. การหนุนเสริม เชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารแนวราบในเครือข่ายภาคประชาชน เช่น การจัดเวทีโต๊ะข่าวสัญจรไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยง และ
3. การเสริมทักษะเครือข่ายในด้านการสื่อสาร เช่น การฝึกอบรมการใช้อินเตอร์เน็ตค้นข้อมูลให้แก่สถานีวิทยุชุมชน
BOARD OF DIRECTORS
กรรมการมูลนิธิ
ชยันต์ วรรธนะภูติ
ประธานมูลนิธิ
ไพสิฐ พาณิชย์กุล
รองประธานมูลนิธิ
คำรณ คุณะดิลก
กรรมการ
นรินทร์ นำเจริญ
กรรมการ
นฤมล วันทนีย์
กรรมการ
รจนกร แบ่งทิศ
กรรมการ
ปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ
กรรมการและเหรัญญิก
นันทา เบญจศิลารักษ์
กรรมการและเลขานุการ
OUR mission
พันธกิจของเรา
เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องถิ่นเอง
ฝึกอบรม
ส่งเสริม จัดการฝึกอบรม ศึกษาวิจัย การพัฒนาระบบการสื่อสารมวลชน ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ส่งเสริมการมีคุณธรรม จริยธรรม เคารพสิทธิมนุษยชน และความหลากหลายของชาติพันธุ์
การใช้สื่อของชุมชนท้องถิ่น
ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาเรียนรู้ในการใช้สื่อของชุมชนท้องถิ่น ภาคประชาสังคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสื่อ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคม
สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน
ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ด้านการสื่อสารมวลชน ระหว่างสถาบันการสื่อสารมวลชนในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ หลักสูตรการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
สนับสนุนให้เกิดการรวบรวมผลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนา
สนับสนุนให้เกิดการรวบรวมผลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนา การเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร และส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานการพัฒนาสังคมเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ผ่านทางระบบสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งสื่อมวลชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เข้าร่วมกิจกรรมหรือดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์
เข้าร่วมกิจกรรมหรือดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ กับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสังคมคู่มือ
การดำเนินการใด ๆ ของมูลนิธิไม่มีวัตถุประสงค์ในการทางการเมือง หรือแสวงหาผลกำไร การดำเนินการและจัดทำกิจกรรมใด ๆ ของมูลนิธิต้องเป็นไปเพื่อการส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
OUR HistOry
ผลวัตของประชาธรรม
จากสำนักข่าวท้องถิ่นสู่ผู้สนับสนุนให้เกิดการสื่อสาร