why we work here

สภาพปัญหา


อกจากนโยบายรัฐจะวางให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางภาคเหนือในด้านต่างๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดขายให้กับเชียงใหม่มาโดยตลอดคือการท่องเที่ยว แม้เชียงใหม่จะมีประชากรตามทะเบียนบ้านเพียงแค่ 1,700,000 กว่าคน แต่ยอดผู้เข้ามา ท่องเที่ยวมีมากกว่า 7,000,000 คนต่อปี (สํานักงานสถิติจังหวัด เชียงใหม่, 2560) ทําให้เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจหลาก หลาย รูปแบบต่างเข้ามาลงทนุ และเข้ามาแสวงหาผลกําไรภาครัฐและ เอกชนเห็นถึง โอกาสตรงนี้จึงเข้ามาส่งเสริมโดย โครงการพัฒนาต่างๆ แม้การท่องเที่ยวจะ นํามาซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็นํามาซง่ึ ปัญหาต่างๆ ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่หากจัดการได้ไม่ดีจะส่งผลให้เกิดการบุกรุกธรรมชาติ ทําลายความหลากหลายทางชีวภาพในเขตป่า เช่น กรณีพื้นที ่เชียงดาวที่มีการขยายตัวของการท่องเที่ยวใน ลักษณะให้นักท่องเที่ยวมาขี่ช้าง ล่องแพ มีการตัดไม้ไผ่มาใช้ในการทําแพเป็นจํานวนมาก ขณะเดียวกันการที่ นักท่องเที่ยวที่ชอบการท่องเที่ยวในลักษณะผจญภัยในป่ามากขึ้นก็ทําให้มีการทําลายทรัพยากรป่าไม้และความ หลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งต้นน้ําเสื่อมโทรมไปมาก และก่อปัญหาขยะมากขึ้นในเขตป่าด้วย



ขณะเดียวกันการสร้างที่พักรีสอร์ทก็มีการขยายตัวเข้าไปในเขตป่า บางพื้นที่มีการออก โฉนดโดยมิชอบเช่น ร้านกาแฟที่รุกล้ําลําน้ําสาธารณะเพื่อเป็นจุดขายให้แก่นักท่อง เที่ยว ดื่มกาแฟในลําห้วย ที่พักโอบล้อมด้วย ขุนเขา และลําน้ํา เป็นต้น

ในอนาคตโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวจะยังคงเข้ามายังพื้นที่เชียงใหม่อย่างต่อเนื่องมาจากในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น หากไม่เตรียมพร้อม โดยเฉพาะการทําความเข้าใจในข้อมูลที่รอบด้านไม่ว่าจะเป็นตัวข้อมูล โครงการ ความเห็นของคนจากภาคส่วน ต่างๆ ย่อมต้องเกิดปัญหาการบุกรุกและแย่งชิง ทรัพยากรกันมากขึ้น ซึ่งช่องโหว่ตรงนี้การกระจายข้อมูลจากสื่อ จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มี ความสําคัญมาก ดังนั้นแนวคิดการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์จึงเริ่มเกิดขึ้น บางพื้นที่ เช่นพื้นที่เชียงดาวเริ่มมีกลุ่มท้องถิ่นที่ให้ความสนใจกับการจัดการท่องเที่ยว เชิงนิเวศน์ที่เน้นการท่องเท่ยีวใน รูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเกิดกลุ่ม รักษ์ดอยหลวงเชียงดาว เพื่อเน้นการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อ ดอยหลวงเชียงดาว ไม่ทําให้ดอยหลวงเชียงดาวเสื่อมโทรมไปมากกว่าที่เป็นอยู่ เป็นต้น รูปธรรมดังกล่าวจึง น่าสนใจ และควรส่งเสริมให้มีการขยายตัวมากขึ้น

สื่อ ประชาธรรม
ประชาทำ

เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องถิ่นเอง

Our objectives

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องุถ

project progress

ความคืบหน้าของประเด็นนี้

ประสานงานเครือข่ายและชุมชน > จัดเวทีเครือข่าย > ฝึกอบรมสื่อสร้างนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมเชิงรุกระดับชุมชน > เก็บข้อมูลเพื่อสื่อสารสาธารณะ > ผลิตสื่อวิดีโอ > การเปิดคอลัมน์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” หรือ “envilocaleyes” ใน www.prachatham.com > ผลิตคู่มือเพื่อสนับสนุนเครือข่าย > ฝึกอบรมการสืบค้นข้อมูล การทำอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารรณรงค์ > การจัดประกวดสื่อรณรงค์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” > เวทีรวมของเครือข่ายเพื่อเรียนรู้ข้ามประเด็นและสรุปบทเรียน (พ.ค./2566) > จัดเวทีสาธารณะระดับจังหวัด (พ.ค./2566)