why we work here

สภาพปัญหา


เมื่อเชียงใหม่เริ่มเติบโตและขยายตัวมากขึ้น จนกินอาณาบริเวณถึงเมืองในเขตพื้นที่ เกษตรกรรม เนื่องจากผู้คนจากต่างถิ่นอพยพเข้ามาอยู่เมืองเชียงใหม่สูงมากเพราะ ต้องการเข้ามาหางานทํา เมื่อมีคนมากขึ้นประกอบกับเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย จึงทําให้พื้นที่ของการประกอบการ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ของการลงทุน ขยายตัวตามไปด้วย ซึ่งการขยายตัวของสิ่งเหล่านี้โดยปราศจากการออกแบบรองรับที่ดี ทําให้เกิดทําลาย พื้นที่สีเขียว ที่เป็นการเกษตรและทรัพยากรป่า และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เมือง เชียงใหม่ที่เคยมีภาพของเมืองน่าอยู่และ อากาศดีมีสภาพเลวร้ายลง

*สาเหตุของการทําให้พื้นที่สีเขียวในตัวเมืองเชียงใหม่ลดลงอย่างเร็วนั้นมีหลายสาเหตุเกี่ยวเนื่องกัน*

เริ่มต้นจากประเด็นผังเมืองเชียงใหม่ ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบให้เห็นชัดเจนว่าจะทําให้ เมืองเป็นไปทิศทางไหนและทันทีที่ผังเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สองหมดอายุลงในปี พ.ศ. 2549 และต้องพิจารณาปรับปรุงใหม่ปรากฎว่าแบบที่ถูกนําเสนอถูกคัดค้านจากคน เชียงใหม่จํานวนมาก เนื่องจากระบุให้สามารถดําเนินการขยายถนนในเขตเมือง สร้างตึกสูงและการกําหนดเขตการทําธุรกิจในเขตย่านชุมชน จนทําให้เกิดกระบวนการ เจรจระหว่างกรมโยธาธิการและผังเมืองกินระยะเวลากว่า 7 ปี จึงถูกประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งมีอายุการใช้งานตามกฎหมาย 5 ปี ในระหว่างที่ผังเมืองยังไม่ประกาศ ใช้จึงเกิดภาวะสุญญากาศของกฎหมาย มีเพียงข้อบัญญัติเทศบาลเท่านั้นที่ใช้แทน ในภาวะสุญญากาศนี้ทําให้เกิดการปลูกสร้างอาคารอย่างไม่เป็นระเบียบ สภาพการณ์ดังกล่าวทําให้เกิดการรุกพื้นที่ต่างๆอย่างไร้การควบคุม บดบังทัศนียภาพและทําลาย บรรยากาศของเมือง นอกจากนี้การที่ไม่มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่ที่ชัดเจนทําให้เมือง กระจายตัวเติบโตในแนวราบ รุกพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่สีเขียว ทั้งป่าสงวนในเขตรอบ ชานเมือง จนมีส่วนทําให้ความชื้นในอากาศของเมืองเชียงใหม่ลดลง ทําให้เกิดปัญหา เรื่องมลพิษทางอากาศในแอ่งที่ราบเชียงใหม่เพราะลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่ง
กระทะต้องการความชื้นเพื่อดันอากาศขึ้นให้เกิดไหลเวียนเพื่อเตรียมการเพาะปลูกก่อนฤดูฝน


ส่วนการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในจังหวัดเชียงใหม่ของกรมควบคุมมลพิษ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ณ เวลา 09.00 น. พบว่าค่าฝุ่นละอองจากสถานีตรวจวัดทางอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษทั้ง 4 สถานี ค่าคุณภาพอากาศไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อน หน้ามากนัก คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เริ่มมี ผลกระทบต่อสุขภาพ ค่า AQI เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง มีค่าระหว่าง 63 – 129 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่า PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง มีค่าระหว่าง 41 – 62 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่า PM 10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง มีค่าระหว่าง 63 – 86 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สภาพการณ์ดังกล่าวทําให้กลุ่มประชาชนหลายกลุ่มพยายามผลักดันพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง และพื้นที่ ชานเมืองขึ้นมา อาทิเช่น กลุ่มเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ได้นําเสนอ ให้เทศบาลฟื้นฟูสวนสาธารณะที่ถูก รกร้าง และปัจจุบันสวนสาธารณะทุกแห่งได้รับการ ฟื้นฟู เครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม พยายามที่จะ รักษาต้นไม้ใหญ่ในเมืองไว้ ประสบความสําเร็จ และล้มเหลวบ้าง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชาชนในเขตพื้นที่ชานเมือง เช่น อําเภอสันกําแพงที่เริ่มตระหนักว่าพื้นที่เมืองกําลังจะรุกล้ําพื้นที่สีเขียวอย่างไม่มีขีด จํากัด เช่น การขยาย ถนนในเขตสันกําแพง ที่มีการตัดต้นไม้จามจุรีที่มีอายุไม่ต่ํากว่า 50 ปี ในขณะที่ชาวบ้านพยายามจะอนุรักษ์ ต้นไม้ และพื้นที่สีเขียวเอาไว้ ด้วยเหตุผลสําคัญ คือต้องการรักษาปอดของเมืองและทําให้เมืองมีความชุ่มชื้น และต่อสู้กับภาวะโลกร้อนได้ แต่ปัญหาคือมีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่เห็นว่าเมืองเชียงใหม่เริ่มเผชิญกับปัญหา สิ่งแวดล้อม โจทย์ใหญ่คือจะทําอย่างไรถึงจะกระจายการสื่อสารข้อมูลวิกฤตที่กําลัง เผชิญ เพื่อขยายแนวร่วม และดึงคนจากกลุ่มต่างๆ มาถกเถียงและหาทางออกให้กับ ปัญหานี้อย่างจริงจัง

สื่อ ประชาธรรม
ประชาทำ

เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องถิ่นเอง

Our objectives

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องถิ่น

project progress

ความคืบหน้าของประเด็นนี้

ประสานงานเครือข่ายและชุมชน > จัดเวทีเครือข่าย > ฝึกอบรมสื่อสร้างนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมเชิงรุกระดับชุมชน > เก็บข้อมูลเพื่อสื่อสารสาธารณะ > ผลิตสื่อวิดีโอ > การเปิดคอลัมน์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” หรือ “envilocaleyes” ใน www.prachatham.com > ผลิตคู่มือเพื่อสนับสนุนเครือข่าย > ฝึกอบรมการสืบค้นข้อมูล การทำอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารรณรงค์ > การจัดประกวดสื่อรณรงค์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” > เวทีรวมของเครือข่ายเพื่อเรียนรู้ข้ามประเด็นและสรุปบทเรียน (พ.ค./2566) > จัดเวทีสาธารณะระดับจังหวัด (พ.ค./2566)