why we work here
สภาพปัญหา
นอกเหนือจากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยังคงเป็นปัญหา มาอย่าง ต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ที่มีการส่งเสริมการปลูกพืช เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ แม้ว่าจะมีความจําเป็นที่จะต้องขยายการปลูกพืชเชิง พาณิชย์เพื่อรองรับสังคม และทําให้ชุมชนมีรายได้ทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาการขยาย ตัวของพืชเชิงเดี่ยว หรือพืชที่ปลูกชนิดเดียวเหล่านี้ ต้องมีการใช้สารเคมีทางการ เกษตรได้ ทําลายดิน และน้ําอย่างมหาศาล และหลายพื้นที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่า เป็นบริเวณกว้างทําให้เกิดปัญหาดินโคลนถล่ม เป็นสาเหตุของปัญหาน้ําท่วมฉับพลัน มาแล้วในหลายพื้นที่ นอกจากนี้การใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรยังก่อให้ เกิดปัญหา คุณภาพดินเสื่อมโทรมเพราะสารเคมีทางเกษตรส่วนใหญ่ทําลายสิ่งมีชีวิตทุกอย่างในดิน สารเคมี สลายตัวได้ช้าจะตกค้างในดิน ซึ่งเกษตรกรต้องใช้ตั้งแต่ก่อนปลูกจนถึง เก็บเกี่ยวผลผลิต ดินจึงเป็นแหล่งรองรับสารเคมีโดยตรง ทําให้โครงสร้างดิน เสื่อมโทรม เช่น ขาดธาตุอาหาร มีสารพิษเจือปน รวมทั้งสภาพดินเค็ม สภาพดินเป็นกรดทําให้ผลผลิตด้านเกษตรกรรมลดลงตามมา นอกจากนี้ความ เสื่อมโทรมของดินทําให้เกิดการ พังทลายของหน้าดินหรือเมื่อเกษตรกรให้น้ําหรือ ถูกลมพัดพาไปกับน้ําและลม ด้วยสาเหตุนี้ทําให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในน้ํ าที่อุปโภคและบริโภค เป็นต้น พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนการปลูกพืชเศรษฐกิจ เชิงเดี่ยวไปหลายชนิดนับตั้งแต่หอมแดง กระเทียม มันสําปะหลัง ส้ม จนมาถึงยางพารา และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเผยว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา พื้นที่การปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นจํานวน มหาศาล และข้อมูลจากสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าปี 2559 พื้นที่ปลูกข้าวโพด เฉพาะจังหวัด เชียงใหม่รวม 149,240 ไร่ และเพิ่มขึ้นในปี 2560 เป็น 174,584 ไร่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสภาพ ผืนดิน การบุกรุกพื้นที่ป่าจนถึงทําลายแหล่งน้ํา ไปจนถึงสุขภาพของเกษตรกร และคนที่อยู่รอบๆ บริเวณ เพาะปลูก จากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินใน 9 จังหวัดภาคเหนือ (ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดินโดย เป็นข้อมูล การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2553 – 2555) และเนื้อที่ใช้ประโยชน์ที่ดิน ทางการเกษตรของประเทศไทย ปี 2556 (ข้อมูลจากสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร) พบพื้นที่ปลูกข้าว และข้าวโพด เป็นจํานวนมาก คิดเป็นร้อยละ 34 และร้อยละ 26 ของพื้นที่การเกษตรในภาคเหนือ ตามลําดับ ซึ่งมีการเพิ่มขึ้นของการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเกษตรกรจะเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและกําจัด เศษวัสดุทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรในพื้นที่ป่า
การทําเกษตรเชิงเดี่ยวจํานวนหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดการบุกรุกป่าต้นน้ําของประเทศ เป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดน้ําป่าไหลหลากทุกปี เพราะไม่มีป่าไม้ซับความชื้น หลังน้ําท่วม ไม่กี่เดือนก็เกิดภัยพิบัติแล้ง เพราะไม่มีน้ําใต้ดินคอยเติมลงแม่น้ํา เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หลังการสีเอาเมล็ดก็ถูกเผาทิ้งก่อให้เกิดปัญหาหมอก ควันพิษทุกปีในช่วงเดือนกุมภา พันธ์ถึงเมษายน หมอกควันพิษจากการเผาเศษพืชที่ปกคลุมพื้นที่ 2 – 3 เดือน ตลอด 24 ชั่วโมง กลายเป็นปัญหาวิกฤติหมอกควันใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งข้อมูลสถานการณ์ 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2555 – 2559) โดยพิจารณาจากจํานวนวันที่ฝุ่นละอองสูงเกิน เกณฑ์มาตรฐาน (ค่ามาตรฐานฝุ่นละออง ขนาดเล็กในบรรยากาศกําหนดไว้ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ในภาพรวมของ 9 จังหวัด ภาคเหนือ พบว่า นับจากปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติหมอกควันรุนแรง ทุกภาคส่วนได้เร่งดําเนิน มาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเผาและหมอกควันอย่างเข้มข้น ส่งผลให้จํานวนวันที่ฝุ่นละอองสูง เกิน เกณฑ์มาตรฐานใน 9 จังหวัดภาคเหนือ มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2559 สถานการณ์กลับมา วิกฤติอีกครั้ง โดยมีสาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศที่ม ีความแห้งแล้ง จึงทําให้ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้และหืดหอบ นักท่องเที่ยวลดลง ผู้ประกอบ การรายได้ลดลง นอกจากนี้การปลูกพืชเชิงเดี่ยวยังทําให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า สาธารณะ และหนองน้ําสาธารณประโยชน์ของชุมชน ทําให้มีการแย่งชิงน้ําทําการเกษตร ทําลายป่ าต้นน้ํา ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และสมุนไพรรักษาโรคของชุมชนไปด้วย
การทําเกษตรเชิงเดี่ยวจํานวนหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดการบุกรุกป่าต้นน้ําของประเทศเป็น อย่างมาก ส่งผลให้เกิดน้ําป่าไหลหลากทุกปี เพราะไม่มีป่าไม้ซับความชื้น หลังน้ําท่วมไม่กี่ เดือนก็เกิดภัยพิบัติแล้ง เพราะไม่มีน้ําใต้ดินคอยเติมลงแม่น้ํา เศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว ์หลังการสีเอาเมล็ดก็ถูกเผาทิ้งก่อให้เกิดปัญหาหมอก ควันพิษทุกปีในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงเมษายน นอกจากนี้ การขยายตัวของพืชเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะการขยายตัว อย่างรวดเร็วของการปลูกข้าวโพด บนพื้นที่สูง มีส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อขยายพื้นที่ทําการเกษตร 9 จังหวัดภาคเหนือ โดยใน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม 2559 พบว่า มีจุดความร้อนในพื้นที่ป่าสงวนสูงที่สุด 4,648 จุด คิดเป็นร้อยละ 46 ของจํานวนจุดความร้อนรวม รองลงมาคือพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 4,029 จุด คิดเป็นร้อยละ 40 ของจํานวนจุดความร้อนรวม
ด้วยปัญหาดังกล่าวทําให้มีกลุ่มองค์กรชุมชนจํานวนไม่น้อยที่เห็นพิษภัยของเกษตรเชิง
เดี่ยวทั้งต่อ สุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนจึงริเริ่มมาทําเกษตรกรรมยั่งยืนที่ลดการ ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยชีวภาพในการทํา การเกษตรมากขึ้น มีกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืนที่กระจาย ตัวในหลายอําเภอ เช่น กลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์อําเภอ สารภี อําเภอแม่แตง อําเภอดอยสะเก็ด อําเภอสะเมิง อําเภอพร้าว อําเภอสันทราย อําเภอแม่ทา อําเภอแม่วาง เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันยังมีต่อยอดจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการแก้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ ยั่งยืนจึงต้องสนับสนุนให้มีการขยายตัวของเกษตรกรรมยั่งยืนให้เ พิ่มมากขึ้นด้วย โดยการสร้างนักสื่อสาร สิ่งแวดล้อมเชิงรุกในชุมชนที่มีการทํางาน ด้านการเกษตรกรรมยั่งยืนอยู่แล้วให้มีการสื่อสารรณรงค์ขยายผลไปยังกลุ่ม ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นก็จะทําให้เกษตรกรที่ยังคงทําการเกษตรแบบเดิมๆ ที่มีการใช้สารเคมีอย่าง หนัก เกิดความตื่นตัวและเห็นรูปธรรมการทําเกษตรกรรมยั่งยืนของกลุ่มต่างๆ ที่ทําไป แล้วและหันมาทําเกษตรกรรมยั่งยืนมากขึ้น
สื่อ ประชาธรรม
ประชาทำ
เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องถิ่นเอง
Our objectives
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เราคือกลุ่มคนที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านการสื่อสารจากคนในท้องุถ
project progress
ความคืบหน้าของประเด็นนี้
ประสานงานเครือข่ายและชุมชน > จัดเวทีเครือข่าย > ฝึกอบรมสื่อสร้างนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมเชิงรุกระดับชุมชน > เก็บข้อมูลเพื่อสื่อสารสาธารณะ > ผลิตสื่อวิดีโอ > การเปิดคอลัมน์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” หรือ “envilocaleyes” ใน www.prachatham.com > ผลิตคู่มือเพื่อสนับสนุนเครือข่าย > ฝึกอบรมการสืบค้นข้อมูล การทำอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารรณรงค์ > การจัดประกวดสื่อรณรงค์ “สิ่งแวดล้อมในสายตาคนท้องถิ่น” > เวทีรวมของเครือข่ายเพื่อเรียนรู้ข้ามประเด็นและสรุปบทเรียน (พ.ค./2566) > จัดเวทีสาธารณะระดับจังหวัด (พ.ค./2566)