วันนี้ (20 มกราคม 2566) เวลาประมาณ 10.00 น. นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่มาพบปะคนสันกำแพง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ภายใต้โครงการ “”ผู้ว่าฯ พบปะประชาชน 1 สัปดาห์ 1 อำเภอ” เป็นกิจกรรมที่ทางผู้ว่าฯ มีความตั้งใจ ที่จะเปิดเวทีมากกว่าการเป็นการประชุม การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคเกษตรกร รวมถึงภาคผู้ประกอบการเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนกัน
วันนี้ทางผู้ว่าฯ กล่าวว่ามาเน้นฟังเป็นหลัก อยากฟังความเห็น เสียงสะท้อนของพื้นที่สันกำแพง ช่วยกันพัฒนาเมืองสันกำแพง สันกำแพงเป็นเมืองหัตถกรรมและวัฒนธรรม
ด้าน ถวิล บัวจีน กล่าวว่า ตนเคยเปิดศูนย์ร่มฯ ต่อมาเคยทำงานร่วมกับหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ วัฒนธรรม โบราณสถาน และสถานที่ท่องเที่ยว เมื่อก่อนนั้นเวลาคนมาท่องเที่ยว อันดับหนึ่ง จะเป็นดอยสุเทพ และต่อมาเป็นสันกำแพง อันดับสามคือไปดูแหล่งธรรมชาติ ไปทางแม่ริม แม่แตง น้ำตกแม่สา ถ้ำเชียงดาว แต่สันกำแพงก็มีร่ม ผ้า ไหม ผ้าฝ้าย ร่มบ่อสร้าง เครื่องเงิน เครื่องเขิน เซรามิก เราคิดว่าสันกำแพงตอนนี้ ผ้าไหม กระจัดกระจาย วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบัน สเน่ห์มันหายไป จึงอยากจะนำเสนอให้ผู้ว่าฯ ประสานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือหลายสถานที่ที่มีความสำคัญแต่กลับไม่ถูกโปรโมทหรือให้ความสนใจ เช่น วัดพระนอนแม่ปูคาเป็นวัดครูบาศรีวิชัยมาพัฒนา
ด้าน ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ตัวแทนภาคประชาสังคม กล่าวว่า กลุ่มท่องเที่ยวสันกำแพงได้มีการพูดคุยกันหลายครั้ง สันกำแพงเป็นเมืองประวัติศาตร์ เวลาเราอยู่สันกำแพง ถนนประตูท่าแพ จะตรงกับประตูเข้าสันกำแพง ที่ผ่านมาเราจะได้ยินเรื่องผ้าไหม เรื่องร่ม แต่จริง ๆ แล้วพื้นที่ย่อย ๆ ในสันกำแพงก็มีงานหัตถกรรมของตนเอง เรากลายเป็นถนนสายวัฒนธรรม เมื่อเราเจอสถานการณ์โควิด-19 และเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการหายไปหมด ปัญหาของสันกำแพงในภาพรวมใหญ่คือปัญหาเศรษฐกิจ
ชุมชนหลายแห่งเริ่มกลับมาฟื้นตัว เป็นลักษณะชุมชนร่วมสมัยหรือชุมชนสร้างสรรค์มากขึ้น เราจะพัฒนาชุมชนสันกำแพงให้เป็นชุมชนสร้างสรรค์อย่างไร คือ
- ช่วยกันรักษาต้นไม้ช่วยกันรักษาพื้นที่สีเขียว เพื่อลดฝุ่นควัน เพิ่มการท่องเที่ยว
- สืบสานศิลปหัตถกรรม ตาม UNESCO ประกาศเมื่อสองปีที่แล้ว
- สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฐานราก บนฐานงานหัตถกรรม
- สร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน ถ่ายทอดเรื่องราว วิถีชีวิต ภูมิปัญญา
หรือเราเรียกกันว่า พื้นที่สร้างสรรค์ คนอยู่ก็มีความสุข คนมาเที่ยวก็มีความสุข เราจะมีแผนที่สันกำแพงร่วมกัน อยากขอทางจังหวัดมาช่วยสนับสนุน หลัง ๆ คนมาเที่ยวจะผ่านแอพลิเคชั่น คนจะมามากขึ้น
และเราจะเชื่อมโยงอีเว้นท์ ย่อย ๆ ของตนเอง เราจะเชื่อมโยงโหม้งต่าง ๆ เป็นปฏิทินอีเว้นสันกำแพง จะมีการจัดอีเว้นท์ร่วมกันมากขึ้น “6 โหม้ง โหล่งพญ๋า” ได้แก่ โหล่งฮิมคาว, ใหม่เอี่ยม, กาดจาวเขิน, กองดีมีศิลป์, บ้านจ๊างนัก และหนองพญาพรหม
ด้านผู้ว่าฯ กล่าวรับให้ททท. จัดทำแผนที่ท่องเที่ยวชุมชน และให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ร่วมโปรโมทให้ โดยในแผนที่เราจะบอกพิกัด ว่าอะไรอยู่ไหน สันกำแพงเป็นอำเภอพิเศษที่น่าไป ควรไป ต้องไป เราต้องสร้างการรับรู้สู่ลูกค้าให้ได้ เอาข้อมูลดิบ ๆ มาได้เลย ทีมจังหวัดจะมาช่วยกัน จะเป็นทางเลือกให้นักท่องเที่ยว
“เอาความสนใจของคนรุ่นใหม่ มันต้องเป็น map หนึ่งเลย เชียงใหม่ผูกรายได้ไว้กับภาคบริการถึง 70% ตอนนี้นักท่องเที่ยวกำลังกลับมา นอกจากแอพ ทำอย่างไร มีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ ถนนสีเขียว ถนนสะอาด จำเป็นต้องทำ ทำอย่างไรคนถึงจะกลับมาเชียงใหม่ กล่าวคือต้องสะอาด สันกำแพงขายได้ เรามีอยู่แล้ว เราต้องขาย เราสามารถแก้ปัญหาได้ เช่น เรื่องสายไฟฟ้า สายสื่อสาร สันกำแพงเราทำได้ สันกำแพงขายความสุขและความประทับใจด้วย ปีหนึ่งต้องมาได้หลาย ๆ ครั้ง อากาศสะอาด ในเดือนมีนาคม ต้องทำได้ สินค้าเรามีอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าของดีที่อยู่ในมือ เราสามารถงัดมาได้ ปฏิทินท่องเที่ยวเรามีแล้ว สันกำแพง-แม่ออน สามารถเชื่อมโยงกันได้ เชียงใหม่เป็นเมืองมหัศจรรย์ เป็นเมืองเดียวที่มีที่ไปทั้ง 25 อำเภอ มันกระจายทั้งเมืองเชียงใหม่”
ตัวแทนประชาชนสันกำแพงกล่าวถึงปัญหาในเรื่องผังเมือง ผังเมืองสันกำแพงต้องวางอย่างไร เพื่อรักษารากเหง้าของเมืองอย่างไร สันกำแพงมีอยู่ 2 มิติ คือเรื่อง Learning city เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์สันกำแพง เรียนรู้เรื่องหัตถกรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรียนรู้แล้วได้อะไร และต่อมาเรื่องผังเมือง สาธารณูปโภคต่าง ๆ เสริมสร้างในเรื่องความสุขของคน
“ถ้าเดินทางมาสันกำแพง ผมคิดว่า creative economy เป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานในพื้นที่ต่อไป รักษาเรื่องวัฒนธรรม กรอบแผนในการดูแลต้นฉำฉา อยากให้นโยบายนี้สู่รูปธรรมมากขึ้น “
“อยากจะเห็นความร่วมมือที่มันมีอยู่แล้ว เราเชื่อว่าข้าราชการทำองค์กรเดียวไม่สามารถทำสำเร็จ ถ้าสันกำแพงขอให้มีการประชุมบ่อยครั้งขึ้น เฉพาะเรื่องมากขึ้นก็สามารถทำได้” ผู้ว่าฯ กล่าว
ท้ายสุดแล้ว ผู้ว่าฯ กล่าวว่าตนมีความตั้งใจ และจะร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน ต้องแลกเปลี่ยนกัน คุยกัน เวลาตกผลึกกัน ต้องไปด้วยกัน เพื่อให้เชียงใหม่เดินต่อไปได้ ต้องการให้เป็นธรรมชาติว่าอำเภอไหนพร้อม ก็สามารถเข้าไปรับฟังได้ ยินดีพบกับทุกคนในทุกโอกาส และรับฟังปัญหาทุกคนไม่ว่าจะเรื่องความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา
ฟังวงพูดคุยเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/i9P5GmePf2/
ประชาธรรมคือองค์กรสื่อทางเลือกที่ก่อตั้งเมื่อปี 2542 โดยกลุ่มนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนในเขตภาคเหนือ