เรื่อง กนกพร จันทร์พลอย

ซานดิอาก้า ซาลาฮุดดิน อูโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระหว่างการเยือนหมู่บ้าน Jatiluwih เมือง Tabanan บาหลี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 การเยี่ยมชมครั้งนี้เพื่อทบทวนการเตรียมการสำหรับการประชุม World Water Forum (WWF) ครั้งที่ 10 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 18-25 พฤษภาคม 2567 /สำนักสื่อสารกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อินโดนีเซีย

“ไม่มีน้ำ ไม่มีการท่องเที่ยว” หรือกล่าวได้ว่า ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความเกี่ยวพันกับเรื่องทรัพยากรน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซานดิอาก้า ซาลาฮุดดิน อูโน (Sandiaga Salahuddin Uno) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประเทศอินโดนีเซียกล่าวในงานประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10 (World Water Forum 10th) ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา

เกาะบาหลี หรือบางคนเรียกว่าเกาะสวรรค์ของนักท่องเที่ยวทุกมุมโลก เมื่อปี พ.ศ. 2566 พบว่าบาหลีมีรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็น 50 % ของรายได้ทั้งหมด มูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ด้านซานดิอาก้า กล่าวว่าอินโดนีเซียยังคงพยายามร่วมมือกันเพื่อเพิ่มการจัดการน้ำภาคการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสวัสดิการของชุมชน

การเพาะปลูกนาข้าวขั้นบันได บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย /กนกพร จันทร์พลอย

การเพาะปลูกนาขั้นบันไดในบาหลี มีมานานกว่าพันปี มีระบบบริหารจัดการน้ำที่เรียกว่าระบบ “ซูบัก” (Subak) ระบบซูบักเป็นกระบวนการจัดการแบบดั้งเดิมที่ควบคุมระบบชลประทานในการเพาะปลูกข้าวในบาหลี เกษตรกรสามารถแบ่งปันทรัพยากรน้ำและควบคุมศัตรูพืชโดยจัดการผ่านตัวชุมชนเอง และยูเนสโก (UNESCO) ประกาศเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโลก เมื่อปี พ.ศ. 2555 

การประชุมน้ำโลกในครั้งนี้ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการจัดการน้ำ ซานดิอาก้าย้ำว่า “ภาคการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวพันกับน้ำอย่างใกล้ชิด บางคนกล่าวว่า “ไม่มีน้ำ ไม่มีการท่องเที่ยว” ปัจจุบันเราได้ร่วมมือกันเพื่อจัดการการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถปรับให้เหมาะสมกับสวัสดิภาพของประชาชนด้วย นี่คือความรับผิดชอบร่วมกันของเรา” และกล่าวว่า “นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเรามั่นใจว่าน้ำยังคงเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเราและเราจะอนุรักษ์น้ำไว้เพื่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป”

Sandiaga Salahuddin Uno รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำเสนอในระหว่างการประชุมระดับสูงของการประชุม World Water Forum ครั้งที่ 10 ปี ในหัวข้อ บทบาทของภาคเอกชนในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 6 (SDG6) ณ ศูนย์การประชุมบาหลี นูซาดัว บาดุง บาหลี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 /Nyoman Hendra Wibowo/tom

ย้อนมองเมืองเชียงใหม่ – เมืองท่องเที่ยวการจัดการน้ำเป็นอย่างไร

ทิวทัศน์บริเวณถนนห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2565 /Supanut Arunoprayote

สถานการณ์การท่องเที่ยวของเกาะบาหลี มีความใกล้เคียงกับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงเช่นกัน ข้อมลูเดือนมีนาคม 2567  (ระบุว่าจากที่ไหน) เปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2562 ที่เป็นช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 และมีปีนี้ (2567) พบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่กว่า 968,301 คน เพิ่มจากเมื่อปี พ.ศ. 2562 ถึง 28.62% และรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 10,007.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 26% 

ด้วยการเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ประกอบกับการพึ่งพาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติของเมือง อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำ ดิน ป่า ปัจจุบันมีหลายชุมชนเริ่มต้นจัดการการท่องเที่ยวด้วยตนเองอย่างกรณี อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ก็ได้มีความพยายามในการจัดการท่องเที่ยวแบบรู้คุณค่าชุมชนและสิ่งแวดล้อม มีกฎกติกาในพื้นที่เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ มีข้อปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยว บางชุมชนเพิ่งจะเริ่มต้น มีการวางระเบียบกติกาในการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเตรียมรับนักท่องเที่ยวที่จะมาถึงในช่วง high season เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวเห็นคุณค่า และเคารพธรรมชาติ เข้าใจวิถีของชุมชน   การจัดการท่องเที่ยวที่เกื้อกูลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นทิศทางหลักของการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความยั่งยืนต่อการใช้สอยประโยชน์จากธรรมชาติทั้งในแง่การเยียวยาจิตใจ รวมถึงทำให้เกิดประโยชน์กับคนท้องถิ่นไปพร้อม ๆ กัน เช่นเดียวกับคำพูดของศิริวรรณ ศรีเงิน ผู้ใหญ่บ้านบ้านหัวทุ่ง ต.แม่นะ อ.เชียงดาวที่กล่าวว่า “เราอยากจะใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและชุมชนมากกว่า  ไม่ได้มองว่าต้องได้รายได้งมากที่สุด” 

การประกาศเป็นเขตสงวนชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว เมื่อปี พ.ศ. 2564 ได้ส่งผลให้ชุมชนและรัฐต้องปกป้องดูแลพื้นที่ป่าโดยรอบของดอยหลวงเชียงดาว การพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่ต้องไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม การจัดการท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณดอยหลวงเชียงดาว รวมถึงเส้นทางที่เป็นแนวกันไฟเพื่อดูแลเรื่องไฟป่าหมอกควันจะมีการดูแลจัดการไม่ให้นักท่องเที่ยวที่มาจำนวนมากส่งกระทบต่อพื้นที่ป่า สิ่งแวดล้อมดังกล่าว กล่าวคือเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปด้วย ด้านประสงค์ แสงงาม ผู้ประกอบการใน อ.เชียงดาว มองว่าการประกาศพื้นที่สงวนชีวมณฑลจึงเป็นโอกาสในการผลักดันเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และสามารถไปเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ เนื่องจากชุมชนมีผลิตภัณฑ์อินทรีย์จำนวนมาก เช่น ข้าว ผลิตผล พืชผัก และชา เป็นต้น

เมืองท่องเที่ยวต้องไปต่อ และการจัดการน้ำรอไม่ได้

อินโดนีเซียมีความมุ่งมั่นที่จะมีบทบาทเชิงกลยุทธ์ต่อไปและมีส่วนสำคัญต่อการจัดการน้ำทั่วโลก สัดส่วนของพื้นผิวโลกกว่า 72% ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำ แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้ และสามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านน้ำดื่มและสุขอนามัย “ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของเราที่จะต้องดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาว่าดินแดนของอินโดนีเซียประกอบด้วยน้ำ 65%” ซานดิอาก้า กล่าว

Vinsensius Jemadu รองผู้จัดงานผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและกิจกรรมของกระทรวง และ Masruroh ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาธุรกิจ พร้อมด้วยรัฐมนตรี Sandiaga ในพิธีเปิด /เบอร์คอม ปาเรคราฟ/TR/เอลวิรา อินดา ส่าหรี/WW/PR


ข้อกังวลอีกประการที่ซานดิอาก้าเน้นย้ำคือการใช้เทคโนโลยี เขากล่าวว่าจะเป็นส่วนสำคัญของการจัดการน้ำในอนาคต “ดังที่อีลอน มัสก์ เข้าร่วมการประชุมในฐานะวิทยากรคนสำคัญกล่าวไว้ เทคโนโลยีจะอำนวยความสะดวกในการจัดการน้ำและพลังงานมากขึ้น เพื่อนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” ซานดิอาก้ากล่าว และย้ำว่าอินโดนีเซียยังคงพยายามร่วมมือกันเพื่อเพิ่มการจัดการน้ำในภาคการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสวัสดิการของชุมชน

อนึ่ง การประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-25 พฤษภาคม 2567โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  Expo สินค้านวัตกรรมน้ำ รวมถึงงาน Bali Street Carnival สามารถดูรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติมภายในงานได้ทาง https://worldwaterforum.org/

Similar Posts