28 มีนาคม 2566
สื่อประชาธรรมชวนฟังเนื้อหาจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “หมอต้นไม้ในงานภูมิทัศน์” ณ เทศบาลเมืองต้นเปา อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชุดโครงการ นวัตกรรมภูมิทัศน์เพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองยั่งยืน โดยคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม นำโดย ผศ.บรรจง สมบูรณ์ชัย และหน่วยงานท้องถิ่น ตัวแทนจากกรมทางหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดพื้นที่ให้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรื่องราวการดูแลต้นไม้ใหญ่ในเมืองและหาทางออกร่วมกัน เรื่องต้นไม้ใหญ่ในเมืองกับผู้คน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการจะใช้เวลา 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 – 31 มีนาคม 2566
หลายคนอาจสงสัยว่า รุกขกรคืออะไรกันนะ สำเนียงเรียกขานคล้ายกับ รุกขเทวดา ที่คุ้นหู
แต่จริง ๆ แล้ววิชาชีพรุกขกรรมในแถบประเทศยุโรปและสหรัฐให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก จนถึงขนาดจัดตั้ง “สมาคมรุกขกรรมนานาชาติ” กันเลยทีเดียว สร้างงานจากการตัดแต่ง ดูแลศัลยกรรมต้นไม้ ประเมินสุขภาพต้นไม้ มีการประกวดแข่งขันพร้อมใบรับรอง ความสามารถด้านรุกขกรรมกันเป็นจริงเป็นจังเลยทีเดียว
หลังจากผ่านการอบรมเชิงทฤษฎี ชวนทำความรู้จักต้นไม้ใหญ่และการดูแลจัดการไปเมื่อวาน วันนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ลงมือปฏิบัติการ ประเมินสุขภาพต้นไม้ใหญ่ พร้อมรุกขกรมืออาชีพ Happy Tree ให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วม
ด้วย 3 หัวใจสำคัญหลัก คือ
Safety – ความปลอดภัยไว้ก่อน
Healthy – สุขภาพต้นไม้ต้องดี
Aesthetic – ต้นไม้ยังคงยืนยัดสวยงาม
และที่สำคัญ อย่าตัด 1 ใน 4 ของพุ่มไม้ในครั้งเดียว โดยเฉพาะหน้าร้อน เพราะต้นไม้อาจช็อคได้ และขาดใบไม้ช่วยสังเคราะห์แสง
“การตัดชิดคอกิ่งแต่ไม่ลึกเกินไป องศาที่ห่างจากคอกิ่งอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างเปลือกมาหุ้มแผล และควรเฉียงเล็กน้อยเพื่อถ่ายเทน้ำฝนออก ส่งผลให้แผลแห้งเร็ว และรอยสวยงามคล้ายโดนัท จากสถิติแผลค่อย ๆ ปิด ปีละ 6-7 เซนติเมตร” ผศ. บรรจงเล่าประสบการณ์งานศัลยกรรมต้นไม้ให้ฟัง
ช่วงขวบปีที่สภาพภูมิอากาศไม่เป็นใจ พายุ ลูกเห็บ แล้งผิดปกติ อาจไม่ใช่ช่วงที่เหมาะสมนักสำหรับการทำงานของรุกขกร แถมต้นไม้ยังฟื้นฟูตัวเองได้ยาก ผศ. บรรจง แนะนำวลีเด็ด ช่วยการตัดแต่ง ประเมินสภาพต้นไม้ที่เสี่ยงสูงสุด ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ต่อชุมชนใกล้เคียง
ถูกเวลา ถูกตำแหน่ง ถูกองศา ถูกขั้นตอน
เป็นงานที่รุกขกรต้องทำ
เข้าสู่ช่วงบ่าย หมอต้นไม้ Happy Tree ครบทีม ขนอุปกรณ์ปีนป่ายและทุ่นแรง พาผู้เข้าร่วมทดลองตัดตกแต่งกิ่งอย่างถูกต้องตามฉบับรุกขกร เช่น การตัดทอนกิ่งให้น้ำหนักเบาลง การตัดแบบเว้นระยะห่างจาำคอกิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงแผล การฉีกขาด พื้นที่ให้ทุกคนเรียนจริง ใช้จริง
“การใช้มีดตัดกิ่งไม้จะทิ้งรอยบากไว้บนไม้ไว้ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพต้นไม้ในอนาคต และโอกาสที่แผลจะปิดน้อย ดังนั้นการใช้เลื่อยจึงเป็นอุปกรณ์ที่ดีกว่า”
หมอต้นไม้ Happy Tree กล่าวเรื่องการหลีกเลี่ยงใช้มีดอย่างที่เราอาจคุ้นชินกัน
การตัดกิ่ง ควรแบ่งจุดเป็น 3 ระยะ ดังนี้ จุดเขียว – ห่างจากคอไม้พอดี
การบากประมาณ เศษ 1/4 พอดีเพื่อประเมินทิศทางการตกลงของกิ่งไม้ดูว่า ไม้จะดีด ตกไปทางใด
หลังจากเรียนรู้การตัดกิ่งด้วยกรรไกรตัดกิ่ง เลื่อยแล้ว มาสู่งานหินที่สำคัญมากหากจะต้องตัดไม้ใหญ่ นั้นคือ เลื่อยยนต์ไฟฟ้า ผู้เข้าร่วมต่างใจจดใจจ่อกับวิธีการสาธิตประกอบเลื่อยยนต์อย่างไรให้ถูกวิธี พร้อมเทคนิควิธีการใช้ ผลัดกันไปลองหยิบจับเลื่อยท่อนไม้ตัวอย่างกันอย่างสนุกสนาน บ้างอาจไม่คุ้นมือ บ้างอาจเคยลองมาแล้ว แต่ทุกคนอุ่นใจเพราะมี หมอต้นไม้ Happy Tree ประกบข้างอยู่เสมอ
ระวังอย่ากดเลื่อยยนต์มากไป
หลังจากเรียนรู้การตัดกิ่งด้วยกรรไกรตัดกิ่ง เลื่อยแล้ว มาสู่งานหินที่สำคัญมากหากจะต้องตัดไม้ใหญ่ นั้นคือ เลื่อยยนต์ไฟฟ้า ผู้เข้าร่วมต่างใจจดใจจ่อกับวิธีการสาธิตประกอบเลื่อยยนต์อย่างไรให้ถูกวิธี พร้อมเทคนิควิธีการใช้ ผลัดกันไปลองหยิบจับเลื่อยท่อนไม้ตัวอย่างกันอย่างสนุกสนาน บ้างอาจไม่คุ้นมือ บ้างอาจเคยลองมาแล้ว แต่ทุกคนอุ่นใจเพราะมี หมอต้นไม้ Happy Tree ประกบข้างอยู่เสมอ
ระวังอย่ากดเลื่อยยนต์มากไป
เรื่อย ๆ มา เรียง ๆ จนถึง session สุดท้ายของวัน ที่พลาดไม่ได้เด็ดขาดนั้นคือ
เรื่อง “เงื่อนในงานรุกขกรรม”
ดูเหมือนเชือกที่มาใช้ทำงาน จะเป็นเชือกอะไรก็ได้ไม่ได้ เพราะเชือกที่ผูกติดกับตัวขณะทำงานอาจเป็นแหล่งพักพิงเดียวขณะห้อยบนต้นไม้สูงใหญ่
พี่ ๆ ทีม Happy Tree ขนประเภทเชือกมาให้ดูถึง 3 ประเภทที่แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติ การใช้งานแตกต่างกันไป เชือกในงานรุกขกรรม ต้องยึดความแข็งแรง ความทนทาน วัสดุที่นำมาใช้ และโครงสร้างของเชือก เป็นหลักสำคัญ
“เชือกในงานรุกขกรรม หรือการทำงานบนที่สูง ความแข็งแรง ทนทาน ความยืดหยุ่นน้อย หากใช้เชือกผิดประเภท อาจส่งผลถึงชีวิตได้” หมอต้นไม้แนะนำประเภทของเชือกในงานรุกขกรรม
ผู้เข้าร่วมตั้งใจเรียนรู้การผูกเงื่อนที่จำเป็นต่องานที่สูง ผลัดกันทดลองหยิบจับ ผูกปม ร้อยเรียงเชือกที่สำคัญต่องานรุกขกรรม อย่างเงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนพิรอด หรือ เงื่อนบ่วงสายธนู 2 ชั้น
อ่านศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ‘อบรมเชิงปฏิบัติการ หมอต้นไม้ ในงานภูมิทัศน์’ (PDF)
อ่านศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ‘เรื่องเงื่อนเชือกในงานรุกขกรรม’ (PDF)
ประชาธรรมคือองค์กรสื่อทางเลือกที่ก่อตั้งเมื่อปี 2542 โดยกลุ่มนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชนในเขตภาคเหนือ