รื่องและภาพ มนตรี หินมี

ทุ่งนาข้าว ในพื้นที่หมู่บ้านเกษตรพัฒนา ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 

ปัจจุบันภาคการเกษตรที่อยู่ในเขตรอบนอกเมืองเชียงใหม่กำลังเผชิญกับวิกฤติภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรอย่างหนัก อันเนื่องมาจากลำเหมืองสาธารณะที่เคยมีแต่เดิมโดนถมไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ชาวบ้านที่ยังต้องพึ่งพาการทำเกษตรกรรมต้องหาทางออกต่อเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน

จากเดิมพื้นที่บ้านเกษตรพัฒนา ตั้งอยู่ในตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพเป็นป่าดง ป่าแพะ ที่ราบเชิงเขาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ แหล่งต้นน้ำ น้ำห้วย ห้วยแสล่ง ห้วยดง ห้วยส้ม หนองน้ำสาธารณะ หนองวัวแดง หนองหัวดง หนองยาว และน้ำบ่อไก่ เป็นต้น เหมาะเป็นพื้นที่ทางการเกษตรและการปศุสัตว์ จึงทำให้มีกลุ่มชาวบ้าน (บ้านเมืองขอน บ้านหม้อ บ้านป่าลาน บ้านกลม และอีกหลายหมู่บ้านในตำบลป่าไผ่) ได้เข้ามาทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ หาของป่า เพื่อการเลี้ยงชีพ เดิมมีการสร้างกระท่อมเพิงพัก ไว้ดูแลสัตว์ ดูแลพืชผลทางการเกษตรเท่านั้น

ในพื้นที่โฉนดหรือพื้นที่บริเวณบ้านของชาวบ้าน ทำให้ไม่คนภายนอกหรือชาวบ้านบริเวณดังกล่าวไม่สามารถเข้าไปทำประโยชน์หรือใช้สอยทางน้ำไหลนั้นได้ และสภาพปัญหาในเรื่องการจัดการวางแผนระบบชลประทานสร้างลำเหมือง ชาวบ้านที่เป็นผู้ประโยชน์ใช้สอยกลับไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการและบำรุงรักษา มากกว่านั้นป่าต้นน้ำที่เป็นป่าเต็งรัง ไม่มีฝายดักตะกอนหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น และลำห้วยไม่มีฝายคอยดักน้ำไว้ในใช้ในยามหน้าแล้ง พื้นที่ขอบลำห้วยถูกบุกรุกต้นไม้

แผนที่คลองส่งน้ำและลำเหมืองสาธารณะ บ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 15 ตำบลป่าไผ่

การจัดการของชุมชนในการจัดการปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ คือการประสานหน่วยงานรัฐท้องถิ่น จัดทำฝายกักเก็บตามลำห้วยซึ่งได้ดำเนินการแล้ว 1 จุดในบริเวณห้วยแสล่ง จัดทำฝายชะลอความชุ่มชื้นในเขตป่าต้นน้ำป่าชุมชนจำนวน 9 จุด ภายใต้งบประมาณของกรมป่าไม้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าสงวน ส่วนอื่น ๆ ได้มีการเปิดเวทีพูดคุยหาแนวทางร่วมกับเทศบาลตำบลป่าไผ่ และชลประทานเชียงใหม่ เพื่อการสำรวจวางแผนจัดเก็บน้ำพัฒนาทางน้ำไหลต่าง ๆ การใช้น้ำได้มีการประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร และพูดคุยหาแนวทางการพัฒนาบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งกำหนดพิธีกรรมตามความเชื่อเข้ามาเลี้ยงดงเลี้ยงขุนน้ำเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับกลุ่มผู้ใช้น้ำ

ลำห้วยส้ม ในพื้นที่หมู่บ้านเกษตรพัฒนา ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 

แนวทางในการแก้ไขที่เล็งเห็นคือ ควรจะมีพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนในชุมชน เพื่อสร้างแนวทางจัดการร่วมกัน และชุมชนควรสำรวจพื้นที่ ทั้งลำห้วย ลำเหมือง ทางน้ำไหล เพื่อสงวนไว้เป็นพื้นที่สาธารณะ ส่งผลให้มีการทำประโยชน์ใช้สอยร่วมกันได้ อย่างไรก็ดี องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นควรบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อจัดการปัญหาให้สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือจัดการของชุมชนด้วย

envilocaleyes#เกษตรกรรมยั่งยืน #การจัดการน้ำ

Similar Posts