เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 มูลนิธิสื่อประชาธรรมจัดงาน เวทีเครือข่ายสร้างพื้นที่สีเขียว อ.สันกำแพง จัดโดยโครงการสร้างนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมเชิงรุกฯ (มูลนิธิสื่อประชาธรรม) ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์มรดกสันกำแพงและเครือข่ายเชียงใหม่ เขียวสวยหอม ณ ห้องประชุมโรงเรียนโอท็อป ข่วงสันกำแพง​

ทางเครือข่ายเขียวสวยหอม แลกเปลี่ยนข้อมูลการสำรวจต้นฉำฉาหรือต้นจามจุรีบนถนนสันกำแพงสายเก่าเมื่อปี 2562 ร่วมสำรวจโดยสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ อาสาสมัครพิทักษ์ยางนาและเครือข่ายเขียวสวยหอม​

ภาพนำเสนอ ผลการสำรวจจำนวนต้นฉำฉา (จามจุรี) บนถนนสันกำแพงสายเก่า เมื่อปี 2562

ซึ่งตอนนั้นพบว่าต้นฉำฉามีจำนวนทั้งหมด 203 ต้น จำแนกลักษณะปัญหาด้านสุขภาพออกเป็น 3 สี แต่ไม่พบสีเขียวที่สะท้อนว่าต้นไม้สุขภาพดี ​ ส่วนใหญ่พบว่ามีปัญหาสุขภาพในระดับสีส้มคือมีลักษณะมีบาดแผล มีโพรง ผุ มีกิ่งแห้ง รากลอยโผล่พ้นดิน มีตะฟูตอกที่ลำต้น สภาพแวดล้อมโดยรวมของต้นคืออยู่ริมถนนบนทางเท้า มีคอนกรีต ซีเมนต์กดทับรากล้อมรอบโคนต้นและอยู่บนทางเท้าที่ปูทับด้วยอิฐบล็อค ​

ทางเครือข่ายเขียวสวยหอม แลกเปลี่ยนการทำงานต่อว่า

“เวลาพูดถึงถนนสันกำแพง เราเรียกว่าพื้นที่สีเขียวริมถนน ต่างจากในวัด ในพื้นที่เอกชน เรามักมองเพียงแค่ต้นไม้ เราต้องมองบริบทโดยรอบของเขาด้วย ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์” ​

เครือข่ายเขียวสวยหอม

“ต้นไม้ในเมืองส่วนใหญ่มักจะพูดถึงเรื่องการอนุรักษ์ แต่เราควรคิดถึงการจัดการมากกว่า เพื่อตรงไปที่เป้าหมายมากขึ้น ต้องเข้าใจว่าหน่วยงานไหนดูแลอยู่ หลัก ๆ พื้นที่หนองหอยสารภีเป็น อบจ. เข้าใจว่าที่สันกำแพง เป็นหมวดทางหลวง ต้องดูว่าดูแลไปถึงตรงไหน ขอบถนนส่วนไหน” ​

และย้ำว่า บทเรียนจากการทำงานกับอาสาฯในพื้นที่คือต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จะนำไปสู่การจัดการที่ดีและยั่งยืนได้ ​

ทางสมาคมยางนา-ขี้เหล็กสยาม แลกเปลี่ยนเรื่องการบริหารจัดการว่า ​ 1. บริบทในแต่พื้นที่ต่างกัน ดังนั้น ข้อมูลสำคัญที่สุด ต้องมีการสำรวจ ต้องมีส่วนร่วม และคนสำรวจต้องมีความรู้ ต้องมีการอบรมหมอต้นไม้ เริ่มรวมกลุ่ม พอเขามีความรู้ก็จะมาเก็บข้อมูล เด็กและเยาวชนจะสามารถช่วยเราได้เยอะ ใช้คน 2 รุ่นมาจอยกัน ในช่วงโควิด อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และ 2. องค์กรเครือข่ายที่ recheck กับข้อมูลเดิม ต่อไปยุคข้างหน้าเป็นยุคของเรา เด็กต้องได้ลงมือทำ จะทำให้เขาเข้าใจกับตระหนักถึงพื้นที่สีเขียวในเมือง​​

วรงค์ วงค์ลังกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม มช. และที่ปรึกษาสมาคมรุกขกรรมไทยได้แลกเปลี่ยนว่า

“โจทย์ใหญ่คือเราจะจัดการอย่างไรต่อ ต้องมาคุยกันยาว ๆ แท้จริงแล้วเราไม่ได้เพียงอนุรักษ์ต้นไม้ แต่เราอนุรักษ์พื้นที่โดยรอบที่อยู่ต้นไม้ด้วย ถามว่าไม่มีถนนก็ไม่ได้ เราต้องมาคิดหาวิธีให้น้ำมันซึมลงไปในถนนให้ได้ เราต้องกลับมาคิดกันเพราะมันเป็นเรื่องของนวัตกรรมการสร้างถนนให้เหมาะสมกับต้นไม้ด้วย” ​ 

วรงค์ วงค์ลังกา

มุมมองจากอาจารย์วรงค์ วงค์ลังกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม มช.
และที่ปรึกษาสมาคมรุกขกรรมไทย

จากในเวที ทางกลุ่มอนุรักษ์มรดกสันกำแพง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและเห็นความหวังว่าจะมีทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนในสันกำแพง และภาคส่วนอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เห็นความสำคัญของการจัดการต้นฉำฉามากขึ้น ​

ช่วงบ่ายเราได้ไปร่วมกันเดินสำรวจสุขภาพของต้นฉำฉาเบื้องต้นเพื่อประเมินและวางแผนการจัดการร่วมกันต่อไป ​

envilocaleyes#ต้นฉำฉาสันกำแพง​ #การจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ​ #สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ​ #กองทุนสิ่งแวดล้อม

Similar Posts