2 กรกฎาคม 2566

หมดจากฤดูหมอกควัน การพูดถึงฝุ่น PM 2.5 ก็จางลง แต่เมื่อฤดูหมอกควันมาถึง หนึ่งในประเด็นที่คนในสังคมพูดถึงแทบจะทุกครั้งคือไฟป่า และต่างชี้นิ้วไปว่าไฟป่าคือต้นตอการเกิดขึ้นของปัญหาหมอกควัน แต่ในมุมกลับกันด้วยวิธีคิดเช่นนี้ทำให้เกิดความคิดว่าไฟป่าคือสิ่งที่ต้องควบคุมเด็ดขาด ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วนักนิเวศวิทยา และชาวบ้านที่อยู่กับป่ามานานมีความเห็นว่าพื้นที่ป่าบางประเภท เช่น ป่าผลัดใบที่มีชีวมวลสะสมจำนวนมาก โดยใน จ.เชียงใหม่มีชีวมวลสะสมโดยเฉลี่ยถึง 1 ตัน/ไร่/ปี เมื่อสะสมจำนวนมากหากควบคุมไม่ให้ไฟเข้าเลย จะยิ่งสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไฟใหญ่ และลุกลามไปยังไปป่าสนเขา ป่าดิบแล้ว ดิบชิ้นที่ยากต่อการการควบคุมเมื่อขึ้นไปยังพื้นที่เขาสูงชัน

ดังนั้นภาคีเครือข่ายใน จ.เชียงใหม่ ได้แก่ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่), จังหวัดเชียงใหม่, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ สถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดเชียงใหม่ และเครือข่ายภาคประชาสังคมอย่าง สภาลมหายใจ, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ), มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ และชุมชนกว่า 31 ชุมชนจึงเห็นความสำคัญของการใช้ไฟจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดไฟใหญ่ โดยไฟจำเป็นคือรูปแบบการบริหารจัดการไฟแบบควบคุมในพื้นที่ป่าผลัดใบ และพื้นที่เกษตรบางประเภท เช่น ไร่หมุนเวียน โดยทำควบคู่กับการทำแนวกันไฟเพื่อควบคุมไม่ให้ไฟออกนอกพื้นที่ โดยมีกลไกควบคุมการใช้ไฟ นอกจากนี้ไฟจำเป็นยังมีระยะเวลา และความรู้ในการใช้ไฟที่เป็นไปตามบริบทของพื้นที่และชุมชน

Similar Posts