เรื่อง: กฤติมา หริ่มยิ่ง และ SAI SAR AUNG /Activist Journalist

เมืองท่าขี้เหล็ก เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในบริเวณชายแดนของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา อยู่กับติดกับบริเวณพื้นที่ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การข้ามแดนจะข้ามที่ด่านอำเภอแม่สาย โดยมีสะพานที่ข้าม “แม่น้ำสาย” ที่กั้นระหว่างสองประเทศ ในจุดแบ่งเขตพรมแดน คือ ประตูกลางสะพาน สิ่งแรกที่สามารถเห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มคนในพื้นที่ชายแดนแห่งนี้ ในระหว่างทางข้ามแดนสังเกตได้ว่าป้ายโฆษณาโรงแรมทั้งสองข้างทาง ในป้ายโฆษณานั้นจะมีทั้งภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษ เมื่อข้ามมาถึงฝั่งจุดตรวจคนเข้าเมืองเมียนมา จะเห็นได้ชัดว่ามีรถจำนวนมากที่รอตรวจผ่านข้ามแดนทั้งขาเข้า และขาออก รวมไปถึงผู้คนที่เดินข้ามฝั่งกันไปมา ทั้งการข้ามมาซื้อขายสินค้าและข้ามมาของกลุ่มคนฝั่งไทยที่ข้ามมาทำงาน

การข้ามแดนมาซื้อขายสินค้าฝั่งนี้ และเป็นจุดแวะสำคัญของนักท่องเที่ยว คือ “ตลาดท่าล้อ” ที่ติดกับด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าขี้เหล็ก ซึ่งเป็นตลาดที่รวบรวมสินค้าหลากหลายชนิดและเป็นแหล่งการค้าทั้งขายปลีก-ขายส่ง สินค้าบางชนิดจะเหมือนกับสินค้าฝั่งไทย เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา เครื่องประดับ น้ำหอม และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่นอกเหนือจากสินค้าที่ถูกกฎหมาย สินค้าบางชนิดที่เป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายและไม่อนุญาตให้มีการวางจำหน่ายสินค้าในฝั่งไทยนั้น ในฝั่งท่าขี้เหล็กนั้นถือเป็นสินค้าที่วางขายกันอย่างปกติและไม่ผิดกฎหมาย เช่น ยาปลุกเซกส์ เซกส์ทอย บุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์การพนันต่างๆ อีกทั้งมีผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นแม่ค้าในท่าขี้เหล็กให้ข้อมูลว่าจุดนี้ยังเป็นเขตแบ่งฝั่งของคนในท่าขี้เหล็กอีกด้วย ในจุดนี้จะแบ่งกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ คนกลุ่มเก่า ได้แก่ คนไทใหญ่ กลุ่มชาติพันธุ์ และคนเนปาล ส่วนคนกลุ่มใหม่ คือ คนจีน ที่พึ่งเข้ามา ในยุคแรกของตลาดนี้จะเป็นคนป๊งทุ่น ซึ่งเป็นชาวอิสลามเข้ามาทำงาน ค่าที่แต่ละแผงตอนนี้ 60,000-70,000 บาท ต่อเดือน ใครจ่ายค่าเช่าแผงไม่ไหวก็จะใส่ตะกร้าขายข้างทางเอา”

เมื่อเดินทางไปยังโดยรอบของเมืองท่าขี้เหล็กนั้น การเดินทางโดยสารจะนิยมใช้สามล้อ และรถสองแถว คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้รถโดยสารส่วนบุคคล เนื่องจากรถยนต์ที่จำหน่ายในเมืองท่าขี้เหล็กนั้นมีราคาค่อนข้างถูก เพราะรัฐบาลเมียนมาไม่ได้มีการเรียกเก็บภาษีรถยนต์เหมือนกับประเทศไทย จึงจะไม่มีรถโดยสารประจำทางให้บริการ สภาพการจราจรมีความคับคั่ง มีรถจำนวนมากบนท้องถนน ทำให้การสัญจรไปมาไม่มีความเป็นระเบียบ จนเกิดการจราจรติดขัดตลอดเส้นทาง ทั้งสองถนนฝั่งถนนมีการกำลังก่อสร้างทั้ง อาคารพาณิชย์ บ้านจัดสรร ตลอดเส้นทางเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผู้ให้สัมภาษณ์ซึ่งเป็นลูกของแม่ค้าในพื้นที่ กล่าวถึง การจราจรที่เปลี่ยนไปในท่าขี้เหล็กว่า “การข้ามไปเรียนฝั่งไทยครั้งนึง กลับมาอีกครั้งก็จะไม่เหมือนเดิม จากเคยใช้เวลาขับรถเพียง 15 นาที เปลี่ยนเป็น 2 ชั่วโมง ทุกอย่างที่นี่เปลี่ยนไปทุกอาทิตย์”

ส่วนในการเดินทางข้ามประเทศ ในเมืองท่าขี้เหล็กนั้นมีเพียงท่าอาศยานแห่งเดียว คือ “Tachilek Airport” ซึ่งหลังจากการทำรัฐประหารของทหารรัฐบาลเมียนมา ทำให้มีการรักษาความปลอดภัยของสนามบินอย่างแน่นหนามากขึ้น บุคคลภายนอกห้ามเข้า มีผู้รักษาความปลอดภัยคอยตรวจสอบหน้าประตู แม้กระทั่งผู้รับส่งผู้โดยสารก็ไม่สามารถเข้าไปภายในตัวอาคารได้ มีการสอบถามอย่างเข้มงวด ส่วนใหญ่สนามบินท่าขี้เหล็กจะใช้ขนส่งทั้งคนและของไปยังเพียงเมืองไม่กี่เมืองภายในประเทศ ได้แก่ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ ตองจี มิตจินา และราโช จากการให้สัมภาษณ์ของคนในพื้นที่ กล่าวว่า “ระบบการบินของเมียนมาร์ยังคงล้าสมัย สนามบินไม่มีการพัฒนาอะไรเลย เครื่องบินดีเลย์บ่อย 1-2 ชั่วโมง การซื้อตั๋วต้องซื้อตั๋วผ่านตัวแทนข้างนอกโดยใช้เงินจ๊าดเท่านั้น หากเป็นชาวต่างชาติต้องจ่ายเพิ่มจากราคาเดิมถึง 2 เท่า ยิ่งในช่วงโรคระบาดเกิด ด่านถูกปิด ถ้าต้องเดินทางไปกรุงเทพ ก็ต้องนั่งเครื่องจากสนามบินท่าขี้เหล็กไปลงที่เมืองย่างกุ้งแล้วถึงต่อเครื่องไปยังสนามบินสุวรรณภูมิอีกที

เมื่อเดินทางไปยังโดยรอบของเมืองท่าขี้เหล็กนั้น การเดินทางโดยสารจะนิยมใช้สามล้อ และรถสองแถว คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้รถโดยสารส่วนบุคคล เนื่องจากรถยนต์ที่จำหน่ายในเมืองท่าขี้เหล็กนั้นมีราคาค่อนข้างถูก เพราะรัฐบาลเมียนมาไม่ได้มีการเรียกเก็บภาษีรถยนต์เหมือนกับประเทศไทย จึงจะไม่มีรถโดยสารประจำทางให้บริการ สภาพการจราจรมีความคับคั่ง มีรถจำนวนมากบนท้องถนน ทำให้การสัญจรไปมาไม่มีความเป็นระเบียบ จนเกิดการจราจรติดขัดตลอดเส้นทาง ทั้งสองถนนฝั่งถนนมีการกำลังก่อสร้างทั้ง อาคารพาณิชย์ บ้านจัดสรร ตลอดเส้นทางเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผู้ให้สัมภาษณ์ซึ่งเป็นลูกของแม่ค้าในพื้นที่ กล่าวถึง การจราจรที่เปลี่ยนไปในท่าขี้เหล็กว่า “การข้ามไปเรียนฝั่งไทยครั้งนึง กลับมาอีกครั้งก็จะไม่เหมือนเดิม จากเคยใช้เวลาขับรถเพียง 15 นาที เปลี่ยนเป็น 2 ชั่วโมง ทุกอย่างที่นี่เปลี่ยนไปทุกอาทิตย์”

ส่วนในการเดินทางข้ามประเทศ ในเมืองท่าขี้เหล็กนั้นมีเพียงท่าอาศยานแห่งเดียว คือ “Tachilek Airport” ซึ่งหลังจากการทำรัฐประหารของทหารรัฐบาลเมียนมา ทำให้มีการรักษาความปลอดภัยของสนามบินอย่างแน่นหนามากขึ้น บุคคลภายนอกห้ามเข้า มีผู้รักษาความปลอดภัยคอยตรวจสอบหน้าประตู แม้กระทั่งผู้รับส่งผู้โดยสารก็ไม่สามารถเข้าไปภายในตัวอาคารได้ มีการสอบถามอย่างเข้มงวด ส่วนใหญ่สนามบินท่าขี้เหล็กจะใช้ขนส่งทั้งคนและของไปยังเพียงเมืองไม่กี่เมืองภายในประเทศ ได้แก่ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ ตองจี มิตจินา และราโช จากการให้สัมภาษณ์ของคนในพื้นที่ กล่าวว่า “ระบบการบินของเมียนมาร์ยังคงล้าสมัย สนามบินไม่มีการพัฒนาอะไรเลย เครื่องบินดีเลย์บ่อย 1-2 ชั่วโมง การซื้อตั๋วต้องซื้อตั๋วผ่านตัวแทนข้างนอกโดยใช้เงินจ๊าดเท่านั้น หากเป็นชาวต่างชาติต้องจ่ายเพิ่มจากราคาเดิมถึง 2 เท่า ยิ่งในช่วงโรคระบาดเกิด ด่านถูกปิด ถ้าต้องเดินทางไปกรุงเทพ ก็ต้องนั่งเครื่องจากสนามบินท่าขี้เหล็กไปลงที่เมืองย่างกุ้งแล้วถึงต่อเครื่องไปยังสนามบินสุวรรณภูมิอีกที

ด้านการค้าในพื้นที่ท่าขี้เหล็กส่วนใหญ่จะเป็นของคนจีน จากป้ายร้านค้าต่างๆที่เป็นภาษาจีนทั้งหมดและยังมีสถานบันเทิงที่เปิดท่ามกลางชุมชน ซึ่งจะเป็นเขตปกครองพิเศษของคนจีนที่มีกลุ่มทหารว้าเป็นผู้ดูแลพื้นที่โดยรอบ มีการสร้างศูนย์รวมของสิ่งอำนวยความสะดวกและความบันเทิง โดยกำลังมีการสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ตรงข้ามกับสถานบันเทิง รวมถึงมีการสร้างคอนโดที่พัก  เพื่อให้สิ่งอำนวยความสะดวกรอบตัวกับผู้ที่เดินทางมาเที่ยวโดยเฉพาะ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปนอกพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร สนามกอล์ฟ  ตลาดสด เป็นต้น โดยตลาดสดเป็นตลาดสดที่เปิดใหม่เมื่อไม่นานมานี้ จากการสอบถามแม่ค้าในตลาดนั้น แม่ค้ากล่าวว่า “แผงในตลาดจะมี 2 รูปแบบ แบบแรกจะเป็นแผงสั้น ราคาแผงละ 2.500 บาท จ่ายค่าแผงก่อน 3 เดือน แบบที่สองจะเป็นแผงยาว ราคาแผงละ 5,000 บาท จ่ายค่าแผงก่อน 3 เดือน ส่วนที่เป็นโซนหน้าตลาดจะราคาเดือนละ 25,000 บาท จ่ายก่อน 1 ปี มีคนมาจองเต็มทุกแผงแล้วตั้งแต่ตลาดยังไม่เปิดให้บริการ มาเริ่มขายได้ไม่นาน แต่ขายดี คนจีนส่วนใหญ่ชอบทานผลไม้ไทย เน้นขายเรื่อยๆ

จากภาพรวมทั้งหมดของเมืองชายแดนท่าขี้เหล็กนั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นเมืองที่มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด กลายเป็นพื้นที่ของการลงทุนและเป็นช่องทางของการเข้ามาทำงานของคนต่างชาติส่วนใหญ่ การเข้ามาลงทุนของต่างชาตินั้น มีทั้งการลงทุนทำธุรกิจที่ถูกกฎหมายและธุรกิจที่เป็นสีเทา แต่ด้วยกฎหมายและระบบการจัดการของรัฐบาลในปัจจุบันนั้น ที่ทำให้มุมมองและความคาดหวังของคนที่อาศัยและทำมาหากินในพื้นที่ท่าขี้เหล็กนั้นมองว่า เศรษฐกิจรวมถึงพื้นที่เกือบทั้งหมดในท่าขี้เหล็ก การเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้านต่างๆที่รวดเร็วและเห็นได้ชัดจากเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาในพื้นที่จำนวนมากตั้งแต่มีกลุ่มนักลงทุนจีนนั้นเข้ามาลงทุนกำลังเป็นสัญญาณให้คนในพื้นที่นั้นต้องปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

อ่านบทความ “ท่าขี้เหล็ก เมืองที่เปลี่ยนแปลงไป” ได้ที่ https://prachatham.com/2024/02/18/18022567-01/


บทความนี้เป็นผลงานผู้เข้าร่วมโครงการ Activist Journalist ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสื่อประชาธรรม (Prachatham Media Foundation) และสำนักข่าวลานเน้อ (LANNER News Media) โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Citizen Accountability for Local governance Media (CALM)

กฤติมา หริ่มยิ่ง

SAI SAR AUNG

นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชานวัตกรรมสังคม สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ ที่สนใจในความซับซ้อนของชายแดน ความเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่มีพื้นที่ติดต่อระหว่างกัน

Similar Posts